นาฬิกาวัดไขมันได้อย่างไร ? เชื่อถือได้มากแค่ไหน
คำถามยอดฮิตที่หลาย ๆ คนมีอยู่ในใจ กับคำถามที่ว่า “นาฬิกาวัดไขมันได้อย่างไร” ซึ่งในส่วนนี้มีหลายคนถามเข้ามาเยอะมาก วันนี้เราจึงจะพามาหาคำตอบว่ามันทำงานยังไงกันนะ ?
ปัญหาไขมันในร่างกาย
ต้องยอมรับนะครับว่าในปัจจุบันอาหารการกินก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ หลาย ๆ คนมีไขมันในเลือดที่สูง เพราะของมัน ของทอด หรือพวกอาหารขยะต่าง ๆ หาทานได้ง่าย แถมยังมีรสชาติที่ถูกปากมากกว่าพวกอาหารสุขภาพเสียอีก
หากเป็นโรคนี้ยังอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็น โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ ที่สำคัญยังอาจทำให้เป็นหลอดเลือดในสมองแตกได้อีกด้วย
เมื่อเป็นแบบนี้แล้วการหมั่นตรวจไขมันในเลือดจึงทำให้เรารู้ตัวได้ก่อนที่จะเกิดโรคต่าง ๆ ตามมา
นาฬิกาวัดไขมันทำงานยังไง?
หลายคนอาจจะยังไม่รู้จักกับเทคโนโลยี Photoplethysmography Sensor หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “เซนเซอร์ PPG” โดยวิธีการทำงานก็คือ…
นาฬิกาจะส่งลำแสง LED ชนิดพิเศษ ยิงผ่านผิวหนังลงลึกเข้าไปที่หลอดเลือด และจะวัดการสะท้อนกลับของแสง แสงที่สะท้อนกลับมาจะถูกนำไปวิเคราะห์ด้วยชิปประมวลผล และคำนวณออกมาเป็นค่าไขมันนั่นเอง
ความน่าเชื่อถือของนาฬิกาวัดไขมัน
ในปัจจุบันยังไม่ได้สามารถตรวจได้แม่นยำ 100% และยังคงมีผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ คนแนะนำว่าไม่ควรเอามาเปรียบเทียบกับผลการตรวจทางแพทย์โดยตรง
แต่ทั้งนี้เราสามารถนำมาวัดเทียบกับเครื่องวัดต่าง ๆ และนำค่ามาบวกหรือลบ เพื่อให้ได้ค่าที่แท้จริงในครั้งถัดไปแทนได้
เดี๋ยวยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายขึ้นนะครับ
สมมุติว่า เราวัดค่าไขมันในเลือดจากเครื่องเจาะปลายนิ้วได้ 180 mg/dl แต่วัดจากนาฬิกาได้ 165 mg/dl ค่าความต่างจะอยู่ที่ 15 mg/dl ในครั้งถัดไปที่ใช้นาฬิกาวัดค่าไขมัน ก็ให้ทำการบวกเพิ่มไป 15 หน่วย ก็จะได้ค่าที่ใกล้เคียงกับเครื่องวัดจริง ๆ นั่นเอง
ต้องยอมรับนะครับว่า นาฬิกาวัดไขมันยังเป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ทางการแพทย์หลายคนยอมรับ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดหลายๆด้านอยู่เหมือนกัน
ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละคนและคุณภาพของสินค้าด้วย ซึ่งมีผลโดยตรงต่อความแม่นยำของนาฬิกาวัดไขมัน