PM 2.5 ส่งผลอย่างไรต่อ “ปอด” ได้บ้าง อันตรายถึงชีวิตไหม?
PM 2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่ต้องอยู่กับมันไปอีกนาน
เชื่อว่าคงไม่มีใครไม่รู้จัก PM 2.5 ที่เริ่มต้นรุนแรงขึ้นในปี 2561 และนับวันปัญหานี้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ในหลายๆภาคส่วนต่างออกมาช่วยกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการฉีดน้ำลงจากตึกสูงๆเพื่อลดฝุ่น การขอความร่วมมือไม่เผาขยะ หญ้า หรือ เศษซากจากการทำเกษตรกรรมต่างๆ แต่ปัญหาก็ไม่ลดลง จนทำให้ “คนเมือง” ต่างต้องหันหน้ามาพึ่งเครื่องฟอกอากาศกันมากมาย ทั้งติดตั้งที่บ้าน อาคาร สำนัากงานต่างๆ ห้างสรรพสินค้า หรือ เครื่องฟอกอากาศแบบพกพา เรียกได้ว่า “เครื่องฟอกอากาศ” ในหลายๆแบรนด์ ขายดีเป็นเทน้ำเทท่ากันเลยทีเดียว
ผ่านมากว่า 5 ปีแล้ว ปัญหา PM 2.5 ไม่ลดลงเลย กลับมีปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้น สูงขึ้น ด้วยเปอร์เซ็นต์ที่น่ากลัวมาก เพราะถือว่าเป็นอันตรายกับร่างกายของเราอย่างแน่นอน มาดูกันว่า PM 2.5 อันตรายถึงชีวิตหรือไม่
PM 2.5 เกิดมาจาก ?
PM 2.5 หรือ ปัญหามลพิษทางอากาศจากฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ล้วนเกิดมาจากสิ่งรอบๆตัวของเราทั้งนั้น อาทิเช่น
- ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ตามท้องถนน ควันจากท่อไอเสียรถเป็นอันตรายต่อสุขภาพมากติดอันดับท็อปห้า และยังมีกลิ่นเหม็นจากการเผาไหม้น้ำมันดีเซล
- การปล่อยมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม ประเทศไทยมีโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก โดยเฉพาะในบริเวณรอบนอกเขต กทม และโรงงานเหล่านี้ จะมีการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เกิดมลพิษ ปกคลุมไปทั่วชั้นบรรยากาศ
- การเผาขยะ และ วัสดุทางการเกษตรต่างๆ หากใครติดตามข่าวสารบ้านเมืองอยู่บ่อยๆ จะทราบดีว่าเมื่อไม่นาน มีข่าวที่ทางภาคเหนือมีการแอบเผาขยะ เผาหญ้า วัสดุทางการเกษตรต่างๆมากมาย จนลามเป็นไฟป่า และเกิดปัญหาฝุ่นควันรุนแรงเป็นวงกว้างเลยทีเดียว
- การสูบบุหรี่ ควันบุหรี่นอกจากจะทำร้ายตัวเองแล้ว ยังทำร้ายคนรอบข้าง และโลกของเราอีกด้วย การจุดธูป ก็ถือเป็นการสร้างมลพิษทางอากาศ ด้วยเช่นกัน
- รวมไปถึงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ไมโครเวฟ คอมพิวเตอร์ ที่ปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ออกมาในขณะที่ใช้งาน
โดยเฉพาะเครื่องถ่ายเอกสาร อาจเป็นความรู้ใหม่สำหรับใครหลายคนเลยทีเดียว เนื่องจากการการใช้งานของมันจะทำให้เกิดก๊าซโอโซนจากแสงอัลตราไวโอเลต และมลพิษจากเครื่องถ่ายเอกสารที่พบมากสุดเลยก็คือ สารประกอบอินทรีย์ระเหย
และผลวิจัยยังพบอีกว่า PM 2.5 จะเกิดขึ้นมากที่สุดในช่วงฤดูร้อน หรือปลายฤดูหนาว เมื่อลมร้อนเริ่มพัดผ่านเข้าสู่ประเทศไทย ฝุ่น PM2.5 เหล่านี้ก็จะถูกพัดให้ลอยสูงขึ้นๆ จนเกิดเป็น “มลพิษทางอากาศ” นั่นเอง
แล้ว PM 2.5 ส่งผลเสียต่อสุขภาพและ “ปอด” ของเราได้อย่างไร
เมื่อเราได้รับ PM 2.5 ที่มากเกินไปจะส่งผลกับทางเดินหายใจ จนเกิดโรคทางเดินหายใจขึ้น โดยเกิดการอักเสบที่ รูจมูก โพรงจมูก คอหอย หลอดลม ลงไปถึงขั้วปอด และปอด อาจทำให้เกิดโรคอื่น ๆ มากมาย อย่างเช่น ไซนัส, ต่อมทอนซิลอักเสบ ในบางรายไอ จาม หรือ เป็นโรคภูมิแพ้ หรือ เกิดโรคผิวหนัง มีผื่นแดงขึ้นตามตัว แขน ขา และนำไปสู่การเกิด “มะเร็งปอด” ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้เช่นกัน
วิธีการป้องกัน และ จัดการกับ PM 2.5
เราสามารถป้องกันตัวเองจาก PM 2.5 ได้ด้วยการสวมหน้ากากป้องกันฝุ่น PM 2.5 ตามมาตรฐานในขณะที่อยู่กลางแจ้ง ลดการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ใช้รถสาธารณะมากขึ้น ไม่เผาหญ้า เผาขยะ หรือ จุดธูป-เทียน ต่างๆ และหาเครื่องฟอกอากาศแบบพกพามาเป็นตัวช่วยก็ดี
มาเช็ค “ปอด” ของเราว่ายังดีอยู่ไหม
มาถึงตรงนี้แล้ว หลายคนคงสงสัยว่าแล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่า “ปอด” ของเรายังดีอยู่ไหม เรามีวิธีง่ายๆ มาบอก ด้วยการหาตัวช่วยดีๆ ที่มีฟังก์ชั่นวัดค่าออกซิเจนในเลือด เพื่อให้มั่นใจในขณะที่เราทำกิจกรรมอยู่กลางแจ้ง โดยเครื่องวัดค่าออกซิเจนในเลือด สามารถบอกได้เบื้องต้นว่า ระดับออกซิเจนของเราอยู่ที่เท่าไร โดยหากต่ำกว่า 97 % แสดงว่าปอดเราเริ่มมีปัญหา
หากใครสนใจ “ตัวช่วยดูแลสุขภาพเบื้องต้น” ที่เหมาะกับคนเมืองอย่างพวกเรา สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://hcarethailand.com/product/
นอกจากจะดูแลตัวเองให้ดีแล้ว เราต้องหา “ตัวช่วยดูแลสุขภาพ” ดีๆ เป็นตัวช่วยเสริมอีกด้วย และดูแลสุขภาพคนที่คุณรักได้อีก