หัวใจเต้นเร็ว เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง 

หัวใจเต้นแรงแบบนี้มีโอกาสเป็นโรคอะไรบ้าง

เมื่อสมัยเด็กเราอาจจะเคยเรียนเรื่องอัตราการเต้นของหัวใจ ของวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา กับ ประโยคบอกเล่าสุดคลาสสิค “อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดของแต่ละคนจะเท่ากับ 220 – อายุ” อย่างเช่น ถ้าจอน มีอายุ 25 ปี จอนจะมีอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดเท่ากับ 220 – 25 = 195 นั้นเท่ากับว่า จอนจะมีอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดเท่ากับ 195 ครั้งต่อนาที 

และเมื่อยิ่งอายุมากขึ้น หัวใจก็จะทำงานช้าลงตามไปด้วย และหากหัวใจเต้นเกือบถึงอัตราสูงสุดหรือเทียบเท่า ก็มีโอกาสที่จะเสียชีวิตได้ ซึ่งโดยปกติแล้วหัวใจเราจะเต้นประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที แต่ถ้าออกกำลังกาย หรือ ตื่นเต้นตกใจ อาจเต้นเร็วขึ้นบ้างนิดหน่อย

 

แล้วอัตราการเต้นของหัวใจเท่าไร ถึงจะเรียกว่าอันตรายล่ะ? ก็อาจจะแบ่งได้ตามนี้

หัวใจเต้น 60-100 ครั้งต่อนาที  : ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ

หัวใจเต้นเกิน 100 ครั้งต่อนาที : มีภาวะหัวใจเต้นเร็ว

หัวใจเต้นเกิน 150 ครั้งต่อนาที : มีภาวะหัวใจเต้นเร็วมากเข้าขั้นอันตราย

จนมาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะยังสงสัยว่า แล้วการที่หัวใจเต้นเร็วกว่าปกตินี้ มันหมายถึงเราเป็นโรคหัวใจหรือเปล่า แล้วมันอันตรายแค่ไหน เพราะอย่างการออกกำลังกาย ก็สามารถทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นได้แล้ว

คำตอบคือ ไม่ใช่เสมอไป เพราะในคนที่อายุยังน้อย และไม่มีปัจจัยเสี่ยงใด ๆ ไม่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคหัวใจ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ไม่มีภาวะความดันสูง ไขมันสูง เป็นไปได้ว่าภาวะหัวใจเต้นเร็วที่เกิดขึ้นอาจไม่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ หรือมีโอกาสเกิดโรคหัวใจได้น้อยมาก แต่อาจเกี่ยวข้องกับภาวะอื่น 

เพราะแบบนั้นเราต้องมาหาปัจจัยของการที่หัวใจเต้นเร็วก่อน โดยที่เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ปัจจัย

เกิดจากปัจจัยภายนอกหัวใจและหลอดเลือด เช่น

  • ภาวะขาดน้ำ (Dehydration)
  • ภาวะการสูญเสียเลือดเป็นจำนวนมากจนเกิดภาวะซีด 
  • การพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนดึก นอนน้อย
  • การติดเชื้อ มีไข้สูง
  • ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Thyrotoxicosis) ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism)
  • ท้องเสีย ถ่ายเหลวปริมาณมาก 
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea – OSA)
  • การรับประทานยาบางชนิด
  • การใช้สารเสพติดที่มีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ
  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีสารกระตุ้นหัวใจ เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

เกิดจากปัจจัยภายในหัวใจและหลอดเลือด เช่น

  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
  • ผนังกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ
  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
  • โรคลิ้นหัวใจ
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • ภาวะที่เกิดจากไฟฟ้าหัวใจลัดวงจร จุดกำเนิดหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะที่หัวใจห้องบน (Supraventricular Tachycardia) หรือที่เรียกว่า SVT หรือภาวะที่เป็นมาแต่กำเนิดหรือเป็นโรคทางพันธุกรรม อย่าง Wolff-Parkinson-White syndrome (WPW syndrome), Brugada syndrome (โรคไหลตาย) และอาการหัวใจเต้นผิดปกติที่พบบ่อยที่สุดและน่ากลัวที่สุด เป็นความผิดปกติของระบบไฟฟ้าหัวใจห้องบนที่รุนแรงที่สุด เรียกกันทั่วไปว่า เอเอฟ (AF : Atrial Fibrillation) หรือหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว

อาการที่เกิดขึ้นก็จะแต่งต่างกันไปตามความรุนแรง ถ้าในกรณีที่ไม่รุนแรง อาจจะทำให้ใจสั่นแบบทันทีทันใด ใจหวิว มึนงง แน่นหน้าอก หรือจุกบริเวณลำคอ ซึ่งส่วนมากจะเกิดขึ้นในไม่กี่นาทีและสามารถหายเองได้ แต่ถ้าอาการรุนแรง มีอาการหัวใจเต้นเร็วนานหลายนาที หรือหลายชั่วโมง บางคนมีอาการหน้ามืด เป็นลม หมดสติ หรือเสียชีวิตทันที

แม้ว่าโดยปกติแล้วโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะมักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีและผู้ที่มีโรคประจำตัว แต่เราเองก็ควรหมั่นสังเกตอาการตัวเอง หากใจสั่นผิดปกติ วูบ หน้ามืด เวียนศีรษะ เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย คล้ายจะเป็นลม ให้รีบพบแพทย์ทันทีเพื่อตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาอย่างเหมาะสม และจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาทิ อัมพฤกษ์ อัมพาต หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตกะทันหันได้ และการพกนาฬิกาเพื่อสุขภาพอย่าง Hcare ก็สามารถช่วยได้เช่นเดียวกัน ด้วยฟังก์ชันวัดอัตราการเต้นของหัวใจ เราสามารถรับรู้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงถึงอันตรายที่กำลังจะเกิดขึ้น เพราะสุขภาพดีไม่มีขายถ้าอยากได้ต้องเริ่มต้นด้วยการดูแลตัวเอง

 

อ้างอิง Tuemaster,โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์แนชั่นแนล, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, bangkokhearthospital, Rajavithi Hospital

Copyright © 2021 HCare Thailand Official