ทำความรู้จักกับ “นาฬิกาวัดค่าน้ำตาล” มันทำงานยังไง

ทำความรู้จักกับ “นาฬิกาวัดค่าน้ำตาล” มันทำงานยังไง

นาฬิกาวัดค่าน้ำตาล คืออะไร

เรียกได้ว่าสมัยนี้สมาร์ชวอทซ์แค่เรือนเดียวก็ทำอะไรได้ตั้งหลายอย่าง เช่น วัดความดัน มอนิเตอร์การออกกำลังกาย วัดหัวใจ และอื่น ๆ อีกมากมาย ถ้าย้อนกลับไปเมื่อก่อนเราจะวัดค่าอะไรแต่ละทีก็คงต้องไปที่โรงพยาบาล หรือไม่ก็ตามคลินิกต่าง ๆ ความสะดวกสบายก็ไม่เท่ากับปัจจุบัน

และเมื่อเห็นฟังก์ชันต่าง ๆ มากมายแบบนี้แล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่นาฬิกาสามารถทำได้ก็คือ “การวัดน้ำตาลในเลือด” หลายคนคงจะว้าวกันใช่ไหมครับเพราะอาจจะเพิ่งเคยได้ยินมาก่อน แต่จริง ๆ แล้วไอเทคโนโลยีนี้มันมีมาตั้งแต่ปี 1962 โดย Dr. Clark W. Heath Jr. ที่จะใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน แต่เรื่องจากขนาดที่ใหญ่และมีราคาสูงจึงไม่เป็นที่นิยม จนถึงพัฒนามาเป็น Glucometer และกลายมาเป็นนาฬิกาแบบในปัจจุบัน

“น้ำตาลน่ากลัวกว่าที่คิด”

 

น้ำตาล เป็นสิ่งที่มีอยู่ทั่วไปในอาหาร เนื่องจากความหวานที่สามารถนำมาปรุงรสได้หลากหลาย และทุกคนรู้ไหมว่าพวกน้ำตาลเนี่ยฆ่าคนได้มากกว่าพวกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เสียอีก เนื่องจากใคร ๆ ก็สามารถเข้าถึงน้ำตาลได้ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจึงอาจมีโอกาสเป็นโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ มากมาย เช่น หัวใจตีบ การมองเห็น และอื่น ๆ แต่ทั้งนี้เราไม่ได้บอกให้ทุกคนไปกินเหล้าแทนน้ำตาลนะ เพียงแต่เลือกทานอย่างเหมาะสมไม่ควรทานเยอะจนเกินไปนั่นเอง

การทำงานของ “นาฬิกาวัดน้ำตาล”

 

ทุกคนอาจจะสงสัยนาฬิกาวัดน้ำตาลมันฉลาดขนาดที่จะรู้ระดับน้ำตาลในเลือดได้เลยเหรอ คำตอบก็คือ “ใช่” และวิธีที่เจ้านาฬิกาสามารถรู้ได้ก็คือตรวจจับปริมาณน้ำตาลในเหงือของเราที่ออกมา เนื่องจากเหงือมีความสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณน้ำตาบในเลือด ซึ่งในส่วนนี้เป็นนวัตกรรมจากจุฬาฯ และยังคงพัฒนาอยู่ 

กับอีกหนึ่งวิธีก็คือ ใช้เซนเซอร์ชนิดพิเศษลงไปใต้ผิวหนังเพื่อตรวจจับน้ำตาลในเลือด และแสงเลเซอร์จะสะท้อนความหนาแน่นของน้ำตาลในเลือดกลับมา ตัวระบบก็จะคำนวณค่าน้ำตาลออกมาได้นั่นเอง

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังไม่ได้รับรองการแพทย์ 100% นะครับว่าค่าที่ได้มาจะตรงมากน้อยขนาดไหน 

วิธีการวัดน้ำตาลในเลือด

 

ถ้าเป็นสมัยก่อนก็ง่าย ๆ เลยก็คือ เดินไปโรงพยาบาลและบอกหมอว่ามาตรวจน้ำตาล จากนั้นเราก็จะถูกเจาะเลือดและนำไปตรวจ

แต่ในเมื่อนาฬิกาวัดน้ำตาลเข้ามาเพียงเราสวมไว้ที่ข้อมือจากนั้นก็เลือกไปที่ฟังก์ชันที่ทางสมาร์ชวอทซ์นั้นมี ก็สามารถตรวจวัดได้แล้ว โดยหลักการก็เป็นไปตามที่ข้างต้นบอกเลยก็คือ “การใช้เซนเซอร์” ในการตรวจสอบนั่นเอง

ในต่างประเทศก็จะมีตัววัดค่าน้ำตาลโดยตรง ถ้าจำไม่ผิดก็คือเอาเจ้าตัวนี้แปะหลังแขน แล้วมันจะสามารถเชื่อมกับแอปฯ ในโทรศัพท์เพื่อดูค่าน้ำตาลของเราได้ แต่ค่อนข้างเกะกะไปสักนิดหนึ่งเมื่อเทียบกับสมาร์ชวอทซ์ที่สามารถวัดน้ำตาลได้

สรุปแล้วนาฬิกาวัดน้ำตาล มีเทคโนโลยีการวัดด้วยแสง หรือเซนเซอร์เฉพาะที่สามารถตรวจจับน้ำตาลได้ แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่ได้มีการรับรองว่ามีความแม่นยำขนาดไหน แต่ทางอเมริกาก็มีเครื่องตรวน้ำตาลแบบที่เราไม่จำเป็นต้องเจาะแล้ว แต่ในประเทศไทยยังไม่มีการเอาเข้ามาในประเทศ และไม่ใช่ว่าสมาร์ชวอทซ์ทุกตัวจะมีฟังก์ชันนี้นะครับ ต้องเป็นแบรนด์ที่มีคุณภาพจริง ๆ อย่าง Hcare รุ่น Plus 2 ที่มาพร้อมกับฟังก์ชัน วัดความดัน, วัดออกซิเจนในเลือด, วัดอัตราการเต้นของหัวใจ และที่สำคัญก็คงจะหนีไม่พ้น “วัดน้ำตาล” นั่นเอง ครบจบในเรือนเดียวแบบนี้ซื้อให้ตัวเองก็ดี ให้คนที่รักก็ได้ all in one ยิ่งกว่ามนุษย์เป็ดพรีเมียมก็คงต้อง Hcare นี่แหละ

 

อ้างอิง chula, thairath, TechOffside, mgronline

Copyright © 2021 HCare Thailand Official