ต้องเกริ่นก่อนนะคะว่านาฬิกาหรือสมาร์ชวอทซ์ในปัจจุบันได้นำเทคโนโลยีต่าง ๆ มากมายมาใส่ไว้เพื่อความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต โดยเฉพาะฟังก์ชันสุขภาพอย่างพวกการวัดความดัน ตรวจระดับน้ำตาล ระดับไขมัน สัดส่วนร่างกาย การนอนหลับ และอีกมากมาย
หนึ่งในฟังก์ชันที่เด่น ๆ เลยก็คือการ “วัดความดัน” และเราควรรู้อะไรก่อนบ้างที่จะซื้อ “นาฬิกาวัดความดัน” สักหนึ่งเรือนมาใช้
ผู้ป่วยความดันโลหิตในประเทศไทย
จากฐานข้อมูลสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข พบว่าในปี 2565 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 6.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 จำนวน 2 แสนคน และในปี 2566 มีผู้ป่วยจากโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่จำนวน 507,104 คน
รศ.พญ. วีรนุช รอบสันติสุข หัวหน้าสาขาวิชาความดันโลหิตสูง ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลและกรรมการสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “ที่ผ่านมาผลสำรวจผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทย ช่วงปี 2547 และ 2552 จะอยู่ที่ 21%”
ด้วยลักษณะสังคมที่เปลี่ยนไปจากเดิมมาสู่สังคมเมืองที่ส่งผลให้เกิดความเครียดสูงขึ้น การรับประทานอาหารที่มีรสชาติเค็ม ประชาชนมีภาวะอ้วนมากขึ้น ส่งผลให้แนวโน้มประชาชนเป็นโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้น
ความดันโลหิตสูง-ต่ำ เป็นอย่างไร
โดยปกติแล้วค่าความดันจะอยู่ที่ประมาณ 120/80 มิลลิเมตรปรอท หากเป็นความดันต่ำจะอยู่ที่ 90/60 มิลลิเมตรปรอทลงไป หากความดันสูงจะวัดค่าได้ตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป
และถ้าหากเราเป็นโรคความดันโลหิต สามารถสังเกตอาการได้ง่าย ๆ เช่น วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ใจสั่น อ่อนเพลีย สายตาพร่ามัว เป็นต้น
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิต
ส่วนมากจะขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การกินอาหาร ความเครียด ถ้าหากเราละเลยพฤติกรรมเหล่านี้ไป ผลเสียที่ตามมาอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ อย่างเช่น
- หัวใจวาย : เนื่องจากความดันโลหิตสูงจะทำให้หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น เสี่ยงให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หรือหัวใจวายได้ในที่สุด
-
โรคหลอดเลือด : เกิดได้กับหลายจุดทั้งหัวใจ และสมอง หากเกิดที่หัวใจจะทำให้หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หากเป็นสมองจะทำให้หลอดเลือดสมองตีบตันเสี่ยงอัมพฤกษ์ อัมพาตได้
-
โรคไต : การเป็นความดันโลหิตสูงจะทำให้เส้นเลือดที่ไตเสื่อม ทำให้การทำงานของไตเสื่อมสภาพลงจนเป็นไตวายเรื้อรังที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
“นาฬิกาวัดความดัน” ดีกว่าเครื่องวัดที่ต้นแขนยังไง?
แม้ในปัจจุบันจะมีเครื่องที่สามารถวัดความดันได้ง่าย ๆ ที่บ้าน โดยที่ไม่ต้องไปโรงพยาบาลแล้วก็ตาม แต่เราก็ไม่สามารถพกเครื่องวัดความดันไปไหนมาไหนได้
นาฬิกาวัดความดันจึงมาช่วยแก้ปัญหาในส่วนนี้ แถมยังมีฟังก์ชันที่มากกว่าแค่วัดความดันในบางแบรนด์
อย่างของ Hcare Thailand ก็มีนวัตกรรมเพื่อสุขภาพมากมายนอกจากการวัดความดัน ไม่ว่าจะเป็นการวัดระดับน้ำตาล วัดไขมัน สัดส่วนร่างกาย วัดการนอนหลับ คลื่นหัวใจ และอื่น ๆ อีกมากมายให้ได้เลือกใช้
และมันคงจะดีกว่าถ้าเราสามารถรู้ค่าสุขภาพของเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเทคโนโลยีของนาฬิกาวัดความดันช่วยให้เรารู้ทันโรคได้มากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ทั้งนั้นสุขภาพของเราไม่ได้มีขายอยู่ทั่วไป การที่เรารู้ทันโรคได้มากเท่าไรก็เป็นสิ่งที่ทำให้เราอยู่กับคนที่รักได้นานมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม